โครงสร้างองค์การในคณะวิชา
นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ
สก๊อต (Scott, 1987) ได้จัดแบ่งทฤษฎีองค์การในยุคแรกจนถึงยุคปัจจุบันเป็น 3 สำนักคือ (1) สำนักเหตุผลนิยม(Rational Systems) (2)สำนักธรรมชาตินิยม (Natural Systems) และ(3) สำนักระบบเปิด (Open Systems) / Mintzberg เสนอ The Five Basic Parts of the Organization ประกอบ ด้วย strategic apex , middle line, operating core, technostructure และ support staff /โครงสร้างองค์การเป็นกระบวนการของการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับตำแหน่ง อำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ และสายใยการติดต่อสื่อสารเพื่อการบริหารงานและประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลเพื่อบรรลุเป้าหมายองค์การ
สก๊อต (Scott, 1987) ได้จัดแบ่งทฤษฎีองค์การในยุคแรกจนถึงยุคปัจจุบันเป็น 3 สำนักคือ (1) สำนักเหตุผลนิยม(Rational Systems) (2)สำนักธรรมชาตินิยม (Natural Systems) และ(3) สำนักระบบเปิด (Open Systems) / Mintzberg เสนอ The Five Basic Parts of the Organization ประกอบ ด้วย strategic apex , middle line, operating core, technostructure และ support staff /โครงสร้างองค์การเป็นกระบวนการของการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับตำแหน่ง อำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ และสายใยการติดต่อสื่อสารเพื่อการบริหารงานและประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลเพื่อบรรลุเป้าหมายองค์การ
รูปแบบโครงสร้าง | ลักษณะ |
โครงสร้างแบบแมทริกซ์ (McCollem & Sherman, 1991) | เหมาะสมกับงานที่มีความซับซ้อน (Riggio, 1990)เป็นโครงสร้างที่ช่วยในการประสานกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก (Robbins, 1990) ข้อด้อย: ผู้ปฏิบัติงานจะทำงานโดยมีผู้บังคับบัญชา 2 คน ขัดกับหลักเอกภาพการบังคับบัญชาของการบริหารของพาโยล /จึงอาจนำไปสู่ความขัดแย้งทางอำนาจขึ้นได้(Laat, 1994) |
โครงสร้างตามหน้าที่ (Functional Classification) | การแบ่งโครงสร้างตามอำนาจหน้าที่ขององค์การ โดยจะเน้นความชำนาญเฉพาะด้าน การแบ่งโครงสร้างตามหน้าที่จะเหมาะสมภายใต้สถานการณ์ที่คงที่/ ข้อดี คือส่งเสริมให้เกิดทักษะความชำนาญ ข้อจำกัดของโครงสร้างแบบนี้คือ การเห็นความสำคัญของวัตถุประสงค์ของหน่วยงานย่อยของตนเองมากกว่าขององค์การทั้งหมด |
โครงสร้างตามผลงาน (Output Classification) | โครงสร้างจำแนกตามผลผลิตจะสนับสนุนการประสานงานข้ามสายงานภายในหน่วยผลผลิต จึงมีความยืดหยุ่นและการปรับตัวได้ดี องค์การใหญ่ๆแบ่งหน่วยงานเป็นกลุ่มผลงานหรือหน่วยธุรกิจเชิงกลยุทธ์(strategic Business Unit – SBU) /มีความคล่องตัว แต่ข้อจำกัดคือ ความซ้ำซ้อนของหน่วยงาน รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่สูง |
โครงสร้างตามพื้นที่ (Territorial Classification) | จัดกลุ่มงานตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในองค์การกระจายหน่วยงานของตนให้ครอบคลุมพื้นที่ที่ต้องรับผิดชอบข้อดีคือเกิดความคล่องตัวในการจัดการตามความเหมาะสมและความต้องการของพื้นที่นั้นๆ แต่ก็มีข้อจำกัดคือความเป็นเอกภาพของนโยบายโดยรวม |
โครงสร้างตามกลุ่มลูกค้า (Customer Classification) | การจัดกลุ่มงานตามกลุ่มลูกค้า เช่น สถาบันการศึกษา ซึ่งมีหลักสูตรการศึกษาของนักศึกษาของนักศึกษาภาคปกติ และหลักสูตรภาคพิเศษหรือธนาคารซึ่งมีแผนกให้เงินกู้ที่แยกตามกลุ่มธุรกิจ การจัดแบ่งโครงสร้างองค์การในลักษณะนี้ช่วยสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้ดีกว่า |
โครงสร้างองค์การเสมือนจริง (Virtual Organization) | การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม(Interorganizational information systems) (O’Brien, 2000) / สังคมกับชุมชนเครือข่ายซึ่งมีการร่วมมือพึ่งพากัน/ความยืดหยุ่น (Flexibility)/ความไว้วางใจ (Turban., 1999)/การบริหารตนเอง (Self-organizing) (Fauchex, 1997) /ขอบเขตขององค์การไม่แน่ชัด(Unclear Boundary) (Turban et al., 1999)/ไม่มีสถานที่ตั้งขององค์การชัดเจน (Locationless) |
2. การวิเคราะห์ /การประยุกต์ใช้องค์การในปัจจุบัน/อนาคต
หัวข้อการประยุกต์ | การวิเคราะห์ /การประยุกต์ใช้องค์การในปัจจุบัน/อนาคต |
การวิเคราะห์โครงสร้างขององค์การ 4 องค์ประกอบ | Specialization / ระบุงานที่เฉพาะเจาะจง และการมอบหมายงานเหล่านั้นเช่น ด้านสาขาการตลาด สาขาการบัญชี /Standardization มีแบบแผนชัดเจนตามขั้นตอน ISO/ Coordination ประกอบด้วยขั้นตอนทั้งแบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ระหว่างสาขาและคณะ/ Authority การระจายอำนาจ จากอธิการบดี ถึง หัวหน้าสาขาวิชา |
การสร้างระบบการควบคุมแบบแมทริกซ์ | ควบคุมให้เกิดคุณค่าความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมการบริหารกับกิจกรรมภายในองค์การเช่น กรณีงานโครงการของมหาวิทยาลัยที่ต้องทำงานประสานกันหลายหน่วยงาน |
การกระจาย KPI ไปตามสายงาน | การกระจายน้ำหนักของ KPI ตามระดับ(Level) ระบบ KPI ในองค์การของคณะ แบ่งงานตามระดับต่างๆของโครงสร้างขององค์กร |
โครงสร้างองค์การเสมือนจริง (Virtual Organization) | คณะบริหารธุรกิจใช้เทคโนลียีสารสนเทศ ประสานในงานโครงการต่างๆ โดยกำหนดเป็น Virtual Team มีการแจ้งความคืบหน้าของงาน ทำเอกสารบน Internet ถึงแม้อยู่ต่างสถานที่ (ปัจจุบันใช้ Google App) |
โครงสร้างและระบบขององค์การที่สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงได้ด้วยตนเอง | มหาวิทยาลัยกระจายอำนาจการบริหารให้แต่ละระดับ อาทิ ระดับสาขาวิชา สามารถปรับการบริหารงาน อาทิ การสอนใหม่ๆ ตามการเปลี่ยนแปลงได้ |
โครงสร้างขององค์การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการติดต่อสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ(Informal Communication) | ในรูปแบบคณะกรรมการวิชาการ / การประชุมคณะเพื่อการติดสินใจร่วมกัน /อาจารย์และเจ้าหน้าที่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ในทุกระดับโดยตรง (ในระดับสายที่ใกล้เคียงกัน) ไม่ต้องผ่านโครงสร้างสายการบังคับบัญชาและไม่จำเป็นที่ต้องมีรูปแบบที่เป็นทางการ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น