Part 3: Education Today and the Road Ahead
พนิตนาฎ ชำนาญเสือ
มยุรา นพพรพันธุ์
สุดารัตน์ สุวารี
นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ
1. สาระสำคัญ : การวิเคราะห์ Part III : Education Today and The Road Ahead
การศึกษาของฟินแลนด์รับผิดชอบโดยกระทรวงศึกษาธิการ มีคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยนโยบายและประเมินผลการให้บริการการศึกษาของท้องถิ่น
สภาพปัจจุบันการจัดการศึกษา
Pre secondary Education
การศึกษาปฐมวัย เด็กวัยก่อน 7 ขวบ เรียนรู้จากครอบครัวและชุมชนมากกว่าที่จะเข้าโรงเรียน ห้องเรียนแบ่งเด็กตามกลุ่มอายุจำนวนเด็กต่อห้องไม่มาก ใช้เวลาเรียนไม่มาก เน้นการเรียนการสอนผ่านการเล่นและกิจกรรม เน้นการประเมินพัฒนาการทางสังคมและการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน
การศึกษาขั้นพื้นฐาน กฎหมายให้เด็กเรียนภาคบังคับถึงมัธยมต้น เทศบาลเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ผู้ปกครองอาจเลือกที่จะจัดการศึกษาเอกโดยไม่ส่งเด็กเข้าโรงเรียนก็ได้ นักเรียนเรียนฟรี รักษาฟรี อาหารฟรี รถรับส่งฟรี
เป้าหมายของการศึกษา มุ่งส่งเสริมและพัฒนามนุษยธรรม คุณธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งฝึกทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
หลักสูตร ใช้หลักสูตรแกนกลางของรัฐ
วิธีการสอน ครูเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาวิชา , ให้ความสำคัญต่อการเรียนแบบร่วมมือกันทำงานเป็นทีม, เรียนรู้แบบลงมือทำสูง ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และการพัฒนารอบด้านมากกว่าการเรียนแบบแข่งขัน
ครู มาจากกลุ่มคนเรียนดี ส่วนใหญ่จบป.โท ได้รับมอบอำนาจให้รับผิดชอบในการบริหารจัดการเรียนการสอนได้อย่างอิสระ
การประเมินผล เน้นเป้าหมายการแนะแนว การส่งเสริมการเรียน และพัฒนาทักษะของเด็กแต่ละคน ไม่มีการให้เกรดเป็นตัวเลข
Upper secondary Education
แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สามัญศึกษากับอาชีวศึกษา นักเรียนเลือกสายการเรียนตามความถนัดความพอใจ
ผู้เรียนเรียนฟรี (รัฐสนับสนุนงบประมาณ) ยกเว้นค่าใช้จ่ายอุปกรณ์การเรียน ผู้เรียนส่วนใหญ่เลือกเรียนสายอาชีพ เนื่องจากเงินเดือนหลังจบเงินเดือนไม่แตกต่างกัน
เทศบาลรับผิดชอบการจัดการศึกษา
เป้าหมายการจัดการศึกษาคือมุ่งอบรมเยาวชนให้เป็นพลเมืองดี มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการศึกษาต่อ การทำงาน การพัฒนาบุคลิกภาพ และวุฒิภาวะ
หลักสูตร ใช้หลักสูตรแกนกลาง
การประเมินผลใช้วิธีประเมินด้วยการสอบ อาจารย์ใหญ่กับครูผู้สอนประเมินร่วมกัน เน้นการประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของน.ร.แต่ละคนมากกว่าการวัดผลด้วยการสอบแบบมาตรฐาน สำหรับการวัดผลด้วยการสอบแบบมาตรฐานใช้เฉพาะตอนสอบมัธยมปลายปีสุดท้าย
การปฏิรูปการศึกษา
ในปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาในปีค.ศ. 1968 เน้นปฏิรูปโรงเรียนขั้นพื้นฐาน โดยมีแนวคิด“การศึกษามีทั้งผลโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี และต่อความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ”เป็นการให้บริการการศึกษาที่เสมอภาค (ทุกคนมีสิทธิเรียนอย่างทั่วถึง, คุณภาพการเรียนการสอนใกล้เคียงกัน) ในการจัดการศึกษาภาคบังคับฟรี 9 ปี
หลักสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานของฟินแลนด์ คือต้องสร้างโรงเรียนที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน ไม่ใช่แค่สำหรับบางคน การปฏิรูปการศึกษาเป็นเรื่องที่ต้องทำแบบวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จจะต้องเป็นส่วนที่แยกไม่ออกจากสังคม ทั้งด้านการเมือง วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ (เป็นความรับผิดชอบของคนทุกคนในชุมชนและในประเทศ) ให้ความนับถือในเรื่องการจัดการศึกษาแบบมืออาชีพ ทั้งในระดับท้องถิ่น ครู ผู้บริหาร
ขั้นตอนการปฏิรูป มีการระดมสมองผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษา กลุ่มผลประโยชน์ ครู ผู้บริหาร) มีการกระจายอำนาจให้โรงเรียน และองค์กรบริหารท้องถิ่น ให้มีความรับผิดชอบที่จะพัฒนาหลักสูตรของตนเอง เลือกหนังสือเรียนเอง เลือกวิธีสอนได้เอง การประเมินผล ไม่ได้ใช้การสอบแบบมาตรฐาน แต่เป็นการประเมินสิ่งที่นักเรียนแต่ละคนเรียนรู้และความก้าวหน้าของเขา เพื่อช่วยชี้แนะให้เขาเรียนรู้ปรับปรุงตัวเอง สอบมาตรฐานระดับชาติเพียงครั้งเดียวตอนจบชั้นม.ปลาย
ทศวรรษ 1990 ฟินแลนด์ประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำเช่นเดียวกันกับประเทศทั่วโลก แต่ปัจจุบันมีการปฏิรูปเป็นสังคมฐานความรู้ โดยขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพสูง มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างกว้างขวาง ภาคการศึกษาและการวิจัยได้รับการออกแบบให้สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม
ผลสำเร็จการปฏิรูปการศึกษาของฟินแลนด์ จากผลการสำรวจพบว่าเด็กอายุ 10 ปีของฟินแลนด์ อ่านหนังสือมากที่สุดในโลก ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียนในแต่ละโรงเรียนไม่แตกต่างกันมาก
ปัจจัยความสำเร็จ 6 ประการ
สิ่งที่ท้าทายในอนาคต
2. แนวคิดหรือหลักทฤษฎี ในการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา
ฟินแลนด์เป็นประเทศรัฐสวัสดิการ ในการปฏิรูประบบการศึกษาเมื่อปี ค.ศ. 1968 รัฐบาลได้วางแผนเชิงกลยุทธ์ โดยมีวิสัยทัศน์ร่วมกันว่า การศึกษามีทั้งผลโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี และต่อความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ซึ่งขณะนั้น ฟินแลนด์กำลังปรับเปลี่ยนจากประเทศที่มีฐานอยู่บนการเกษตร ป่าไม้ การประมง ไปเป็นประเทศพัฒนาอุตสาหกรรม การค้าและการบริการที่ใช้เทคโนโลยี่ระดับสูง
ดังนั้น ฟินแลนด์จึงนำทฤษฎีระบบมาใช้ในการปฏิรูปการศึกษา โดยนำประเด็นความต้องการการเปลี่ยนแปลงประเทศมาเป็นสภาพแวดล้อมที่มากระทบกับระบบการศึกษา และตั้งผลลัพธ์ทางการศึกษาที่คุณภาพของคนในประเทศที่จะพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
จากประเด็น การจัดการศึกษาในวันนี้และเส้นทางการศึกษาแห่งอนาคตของการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาของประเทศฟินแลนด์นั้น จะเห็นได้ว่ามี ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 6 ประการ ซึ่งสามารถวิเคราะห์แนวคิดการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในกรอบของทฤษฎีระบบ ดังนี้
2.1 ปัจจัยนำเข้า
2.1.1 นโยบายการศึกษา
นโยบายการจัดการศึกษาที่เน้นความเสมอภาคเท่าเทียมกัน เป็นมาตรฐานโรงเรียนภาคบังคับ 9 ปีที่มีคุณภาพเท่าเทียมกัน : โรงเรียนเป็นทั้งสถานที่เล่น เรียนรู้ และพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน นักเรียนได้รับอาหารฟรีวันละ 2 มื้อ การดูแลสุขภาพฟรี รถรับส่งฟรี อุปกรณ์การเรียนรู้ฟรี
2.1.2 ครูที่ดี
A Instiller of values
2.1.3 หลักสูตร
มีการจัดหลักสูตรที่เป็นหลักสูตรแกนกลางของรัฐ แต่ครูสามารถใช้วิธีการสอน ที่เหมาะสมกับเนื้อหาวิชา , ให้ความสำคัญต่อการเรียนแบบร่วมมือกันทำงานเป็นทีม, เรียนรู้แบบลงมือทำสูง ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และการพัฒนารอบด้านมากกว่าการเรียนแบบแข่งขัน
2.2 กระบวนการ
2.2.1 สร้างภาวะผู้นำอย่างยั่งยืน: แนวคิดพื้นฐานของการจัดการศึกษา คือการศึกษาเป็นบริการสาธารณะ การศึกษาเป็นฐานของความสำเร็จในตลาดโลก โรงเรียนและครูให้ความสนใจในการพัฒนาการเรียนการสอนตามความต้องการของชุมชน ตามศักยภาพของโรงเรียน โดยมีแผนพัฒนาและกลยุทธ์รองรับ ภายใต้กรอบที่รัฐกำหนด ครูสนใจพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง และมีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
2.2.2 การจัดการความรู้องค์กร มีการให้การยกย่องและรางวัลสำหรับนวัตกรรม: การให้การยอมรับว่าแต่ละโรงเรียนมีแนวคิดที่มีคุณค่า และรู้หนทางที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้ที่ประสบความสำเร็จ มีการสร้างชุมชนการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน และระหว่างครู โครงการที่เรียกว่า "aquarium project" เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาล เทศบาล และ โรงเรียน มีเป้าหมายให้โรงเรียนและครูร่วมกันพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน โดยสร้างเครือข่ายด้านทรัพยากรบุคคล มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทดสอบปฏิบัติ
2.2.3 การวัดและการประเมินผล เน้นความรับผิดชอบที่ยืดหยุ่น ซึ่งจัดการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่ไม่ใช่การทดสอบ: ครูเป็นผู้ประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน การประเมินด้วยแบบทดสอบมาตรฐานทำครั้งเดียวเมื่อจบการศึกษาภาคบังคับ มีผลดี คือเด็กนักเรียนชั้นเด็กเล็กถึงเกรด 5 ไม่ได้วัดผลเป็นเกรด จึงไม่ต้องเปรียบเทียบกับผู้อื่น ครูมีอิสระในการวางแผนหลักสูตร จัดเวลาเรียนได้เอง ครูเลือกวิธีสอนได้เอง ทำให้เด็กไม่เครียด ครูก็ไม่เครียด
2.2.5 การจัดการเรียนการสอน ที่พัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่ มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยจัดการเรียนรู้ในลักษณะที่ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น(Active learning) ประเมินตนเอง(Self evaluation) ความสามารถในการตัดสินใจ( Decision making) วางแผนการเรียนรู้จนถึงอนาคต(Learning Plan) และการเรียนแบบร่วมมือ(Cooperative learning)
2.3 ผลลัพธ์
ผลสำเร็จการปฏิรูปการศึกษาของฟินแลนด์ พบว่าเด็กอายุ 10 ปีของฟินแลนด์ อ่านหนังสือมากที่สุดในโลก ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียนในแต่ละโรงเรียนไม่แตกต่างกันมาก นักเรียนมัธยมฟินแลนด์ที่เข้าทดสอบประเมินผลระหว่างชาติตามโครงการ PISA ทำคะแนนได้ดีและนักเรียนทั้งประเทศมีคะแนนต่างกันน้อยกว่านักเรียนจากประเทศอื่น
3. การปฏิรูปการศึกษาเชิงเปรียบเทียบกับฟินแลนด์
3.1 ข้อมูลทั่วไปการปฏิรูปการศึกษารอบสอง
การปฏิรูปการศึกษา คือ การปรับเปลี่ยนพัฒนาเพื่อให้การศึกษาสามารถสร้างคนดีให้กับสังคมและเป็นพลังในการพัฒนาประเทศให้สามารถแข่งขันกับนานาอารยประเทศบนพื้นฐานของวัฒนธรรมและความเป็นไทย
การปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มีความมุ่งหมาย ที่จะจัดการเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดีมีความสามารถและอยู่ร่วมกับสังคมอย่างมีความสุข การดำเนินงานตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีพลังและมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องยึดเงื่อนไขและหลักการสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
วิสัยทัศน์ : คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ
กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
การปฏิรูปการศึกษา ได้กำหนดจากกรอบ ต่อไปนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ๒๕๔๒ ข้อเสนอแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. ๒๕๕๒ - ๒๕๖๑) แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๕๒ - ๒๕๕๙) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๕๐ – ๒๕๕๔) นโยบายรัฐบาลด้านการศึกษา และ นโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการพัฒนา กศ.ศธ.
เป้าหมาย
ภายในปี ๒๕๖๑ มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดยเน้นเป้าหมายหลักสามประการ
คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้
เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารและจัดการศึกษา
กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา ๔ ใหม่
พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่
พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่
พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และแหล่งเรียนรู้ ยุคใหม่
พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่
3.2 บทวิเคราะห์เปรียบเทียบกับปัจจัยความสำเร็จ 6 ประการ
ฟินแลนด์ | แนวการปฏิรูปการศึกษา |
การศึกษาขั้นพื้นฐานมีการปลูกฝังทักษะและทัศนคติต่อผู้เรียนในเรื่องการศึกษาตลอดชีวิต ครูในโรงเรียนภาคบังคับต้องจบการศึกษาระดับปริญญาโท โรงเรียนมีขนาดเล็กแต่มีอุปกรณ์ครบครัน ครูกับนักเรียนมีความใกล้ชิดกัน โรงเรียนเป็นทั้งสถานที่เล่น เรียนรู้ และพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน นักเรียนได้รับอาหารฟรีวันละ 2 มื้อ การดูแลสุขภาพฟรี รถรับส่งฟรี อุปกรณ์การเรียนรู้ฟรี | สภาพปัจจุบัน คนไทยยังไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและเท่าเทียมกันได้ การปฏิรูป มีการกำหนดวิสัยทัศน์ คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยยึด 3 D 4 ใหม่ เป็นหัวใจ การกำหนดนโยบาย 5 ฟรี ได้แก่ เรียนฟรี / Tutor Channel /นมโรงเรียน /อาหารกลางวันตั้งแต่อนุบาลถึง ป.6 100% /คนพิการเรียนฟรีถึงปริญญาตรี/ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 49 ได้บัญญัติว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย |
ฟินแลนด์ | แนวการปฏิรูปการศึกษา |
วิชาชีพครูได้รับการยอมรับนับถือในสังคม ภาคธุรกิจนิยมรับผู้ที่เคยผ่านอาชีพครูเข้าทำงาน พ่อแม่ให้ความเชื่อถือในครูมาก ผู้ที่เรียนดีนิยมเลือกอาชีพครู ครูมีอิสระในการเลือกวิธีจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน ครูส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาโท นิยมศึกษาต่อถึงระดับปริญญาเอก การศึกษาครู มีความสมดุลย์ระหว่างวิชาภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ครูมีบทบาทร่วมในการพัฒนาโรงเรียน และมีส่วนร่วมในโครงการระดับชาติและนานาชาติ | สภาพปัจจุบัน อาชีพครูได้รับการนับถือมาก แค่ครูไม่ได้มาจากผู้ที่เรียนเก่ง และการศึกษาทั่วไปอยู่ระดับปริญญาตรี การปฏิรูป พัฒนาระบบผลิตครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนาครู คณาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา แนวทาง การพัฒนาครูทั้งระบบ/ สร้างครูพันธุ์ใหม่ จะทำ 3 หมื่นคนใน 5 ปี ชดเชยอัตราเกษียณ 30% เรียนจบแล้วบรรจุได้เลย/ การปรับระบบการพัฒนาบุคลากร กระบวนการพัฒนาจะมีองค์กรที่เป็นที่ยอมรับเกิดขึ้น มีหลักสูตรหลากหลาย ได้แก่ 1.ผู้บริหารการศึกษาระดับสูง 2.กระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งต่าง ๆ ต้องผ่านหลักสูตรอะไรบ้าง 3. หลักสูตรการเลื่อนวิทยฐานะ 4.หลักสูตรการต่อใบอนุญาตวิชาชีพ 5.หลักสูตรการพัฒนาตามนโยบาย |
3.ภาวะผู้นำอย่างยั่งยืน:
ฟินแลนด์ | แนวการปฏิรูปการศึกษา |
แนวคิดพื้นฐานของการจัดการศึกษา คือการศึกษาเป็นบริการสาธารณะ การศึกษาเป็นฐานของความสำเร็จในตลาดโลก โรงเรียนและครูให้ความสนใจในการพัฒนาการเรียนการสอนตามความต้องการของชุมชน ตามศักยภาพของโรงเรียน โดยมีแผนพัฒนาและกลยุทธ์รองรับ ภายใต้กรอบที่รัฐกำหนด ครูสนใจพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง และมีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น | สภาพปัจจุบัน ชุมชนยังเข้ามีส่วนในการบริหารจัดการไม่มาก นโยบายการศึกษาถูกกำหนดโดยส่วนกลาง โรงเรียนมีแผนการดำเนินงานแต่ไม่ได้นำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง การปฏิรูป เน้นการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่ และ อปท. การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน มีระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล โดย กระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้กับสถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา พัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลให้มีประสิทธิภาพ ปรับระบบการบริหารจัดการการเงินและงบประมาณ โดยเน้น demand side /ในมาตรา ๘ ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ยึดหลักสามประการในการจัดการศึกษา คือเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง, อีกทั้งมาตรา ๙ ได้กำหนดหลักการสำคัญในการจัดระบบโครงสรัางและกระบวนการจัดการศึกษาไว้ ๖ ประการ คือ (ก) มีเอกภาพด้านนโยบายและมีความหลากหลายในการปฏิบัติ (ข) มีการกระจายอำนาจสู่เขตพื้นการศึกษา สถานศึกษา และองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น |
4.การให้การยกย่องและรางวัลสำหรับนวัตกรรม
ฟินแลนด์ | แนวการปฏิรูปการศึกษา |
การให้การยอมรับว่าแต่ละโรงเรียนมีแนวคิดที่มีคุณค่า และรู้หนทางที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้ที่ประสบความสำเร็จ มีการสร้างชุมชนการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน และระหว่างครู โครงการที่เรียกว่า "aquarium project" เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาล เทศบาล และ โรงเรียน มีเป้าหมายให้โรงเรียนและครูร่วมกันพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน โดยสร้างเครือข่ายด้านทรัพยากรบุคคล มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทดสอบปฏิบัติ | สภาพปัจจุบัน มีการแลกเปลี่ยนโดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมสอน วิทยากรภายนอก การปฏิรูป การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การแลกเปลี่ยน การตั้งสถาบันฝึกอบรมพัฒนาครู |
5. ความรับผิดชอบที่ยืดหยุ่น เช่น เน้นที่การเรียนรู้ไม่ใช่การทดสอบ:
ฟินแลนด์ | แนวการปฏิรูปการศึกษา |
ครูเป็นผู้ประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน การประเมินด้วยแบบทดสอบมาตรฐานทำครั้งเดียวเมื่อจบการศึกษาภาคบังคับ มีผลดี คือเด็กนักเรียนชั้นเด็กเล็กถึงเกรด 5 ไม่ได้วัดผลเป็นเกรด จึงไม่ต้องเปรียบเทียบกับผู้อื่น ครูมีอิสระในการวางแผนหลักสูตร จัดเวลาเรียนได้เอง ครูเลือกวิธีสอนได้เอง ทำให้เด็กไม่เครียด ครูก็ไม่เครียด | สภาพปัจจุบัน ความรับผิดชอบถูกกำหนดตามนโยบายกลาง แนวทางการสอน การวัดผลมีการกำหนดเป็นแผนขั้นตอน มีการสอบวัดผลทุกปี การปฏิรูป ไม่มีการกล่าวถึงชัดเจนถึงความยืดหยุ่นของความรับผิดชอบ |
6.วัฒนธรรมเชื่อใจ
ฟินแลนด์ | แนวการปฏิรูปการศึกษา |
พ่อแม่ นักเรียน องค์กรต่างๆ ไว้วางใจในครูและโรงเรียนว่าจะสามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างดีที่สุด รัฐบาลบริหารประเทศด้วยหลักธรรมาภิบาล แทบจะไม่มีคอร์รัปชั่น ครูและโรงเรียนได้รับเชิญให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาสังคม | สภาพปัจจุบัน มีการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้งาน การได้รับวางใจแต่ละโรงเรียนยังไม่เท่ากัน มีความแตกต่างแต่ละโรงเรียน การปฏิรูป กล่าวถึงชัดเจนในการปฏิรูปรอบ สอง เน้นการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่ และ อปท. การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน มีระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล โดย 1.กระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้กับสถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา 2.พัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลให้มีประสิทธิภาพ 3.พัฒนาการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา อย่างมีคุณภาพ ๔ พัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ภาคเอกชน และทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษาและสนับสนุนการศึกษาและเรียนรู้ให้มากขึ้น |
เอกสารอ้างอิง
ข้อมูลทางการศึกษา ปีการศึกษา 2550. กรุงเทพฯ, 2551.