บทความที่ได้รับความนิยม

วันอาทิตย์, ธันวาคม 26, 2553

ศึกษาดูงานโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

วันอังคาร  21 ธันวาคม 2553  ท่านอาจารย์ ผศ. ดร. วินิจ เกตุขำ และ ดร. ดนัย เทียนพุฒ ได้พาพวกเราไปศึกษาดูงาน โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์  รถออกเวลาประมาณ









7.30 น. รถตู้สองคันไปถึงประมาณ 8.35  มีท่านอาจารย์มารับพวกเรา ไปพบท่านรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ฟังบรรยายสรุป รูปแบบโรงเรียน แนวทางการบริหารจัดการ ขั้นตอนการรับนักเรียน ระบบหอพัก ค่าใช่จ่าย และรายได้ ตลอดจนการถาม ตอบ ซึ่งได้รับความรู้มาก พวกเราได้ไปเยี่ยมชม ห้องปฏิบัติการ ห้องเรียน ห่องสมุด พูดคุยกับน้องๆ นักเรียนเก่งๆ หลายคน  ทุกคนขยันมาก   บางคนนำโนตบุคมาค้นค้วาในห้องสมุดด้วย
โรงเรียนมีกิจกรรมต่างๆ  กีฬา หอพักรองรับการพักค้างคืนหากผู้ปกครองมาเยี่ยมลูกๆ
ความรู้สึกแรกๆ อาจดูเครียด แต่เท่าที่ได้พูดคุยกับน้องๆ ทุกคนมีความสุขดี 
     นักเรียนทุกคนก่อนจบการศึกษา ต้องทำโครงงานโดยมีอาจารย์ที่โรงเรียน หรืออาจารย์จากมหาวิทยาลัยเป็นที่ปรึกษา ทุกสัปดาห์จะมีบรรยายจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ และนักเรียนต้องเข้าเรียนตามจำนวนครั้งที่กำหนด   
    ขอขอบคุณ  ท่านรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ  และอาจารย์ทุกท่านที่ให้การต้อนรับ  และพาพวกเราเยี่ยมชม  ตลอดการดูงานสามชั่วโมง

วันพฤหัสบดี, ธันวาคม 23, 2553

ศาสตราจารย์ ดร.สาเนาว์ ขจรศิลป์ ที่ปรึกษาคณะศึกษาศาสตร์กล่าวว่า เปิดดาเนินการสอนระดับปริญญาเอกหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา และภาวะผู้นา

ศาสตราจารย์ ดร.สาเนาว์ ขจรศิลป์ ที่ปรึกษาคณะศึกษาศาสตร์กล่าวว่า เปิดดาเนินการสอนระดับปริญญาเอกหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา และภาวะผู้นา ตั้งแต่
1. ดร.จิระ สินธุอารีย์
2. ดร.เฉลิมวิทย์ ฉิมตระกูล
3. ดร.ธนภัทร ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา
4. ดร.เทวี บุญจับ
5. ดร.โสภณ เพ็ชรพวง
6. ดร.อิศลักขณ์ เจนเขว้า
7. ผศ.ดร.เสวียน เจนเขว้า
8. บาทหลวง ดร.เชาวฤทธิ์ สาสาย
9. ดร.ธนิกา เจษฎาวรางกูล
10. รศ.ดร.กิตติมา เจริญหิรัญ
11. ดร.ธัญญา นุชาหาญ
12. ดร.ศุภเสฏฐ์ คณากูล
13. ดร.มัณฑริกา วิฑูรชาติ
14. ดร.สุรีย์รักษ์ อุดมเศรษฐ์
15. ดร.เดชณรงค์ วั ฒนพันธุ์
16. ดร.จาเป็น เอี่ยมอักษร
17. ดร.ไตรรัตน์ สิทธิทูล
18. ดร.ธนรัตน์ ตีรสวัสดิชัย
และรุ่นที่ 2, 3, 4 และ 5 อีกจานวน 13 คน ดังนี้
1. ผศ.ดร.ศิริพร เสริตานนท์
2. ผศ.ดร.สิริศักดิ์ รัชชุศานติ
3. ดร.ดิเรก ทัศมาลัย
4. ผศ.ดร.มนัสนันท์ หัตถศักดิ์
5. ดร.รวีรวรรณ กลิ่นหอม
6. ดร.พรทิพย์ สุริยาชัยวัฒนะ
7. ดร.มิตภาณี พงษ์พัว
8. ดร.มาวิน ด่านกุล
9. ดร.พ.อ.(พิเศษ)ก้องศักดิ์ ไชยณรงค์
10. ดร.พิมพ์ประภา อมรกิจภิญโญ
11. ดร.พาที ถิ่นทวี
12. ดร.ไพศาล กาญจนวงศ์
13. ดร.ศิริพร พรหมนา
และ มีผู้สาเร็จการศึกษาใช้เวลาเรียนเพียง 2 ปี 4 เดือน คือ ดร.พิมพ์ประภา อมรกิจภิญโญ ซึ่งมีเคล็ดลับความสาเร็จคือ การวางแผนการเรียนอย่างมีขั้นตอน และมีอาจารย์ที่ปรึกษาดูแลอย่างใกล้ชิด
และความภาคภูมิใจอีกประการหนึ่งในปีการศึกษานี้คือ ดร. มิตภาณี พงษ์พัว ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น จากสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย

ปีการศึกษา 2547 ถึงปัจจุบันมีผู้สาเร็จการศึกษา กว่า 30 คน เป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่นักศึกษาปริญญาเอกรุ่นที่ 1 จานวน 22 คน สาเร็จการศึกษามากถึง 18 คน คือ

วันพุธ, ธันวาคม 22, 2553

งานวันกีฬา

เราประชุมแบ่งงานกัน เช่น เรื่องกีฬา ลีดเดอร์ การร้องเพลงเชียร์  และนำกระป๋องสีเขียวบรรจุ ถั่วลิสง โดยพี่จา รับผิดชอบ   พวกเรามาถึงวันงาน  28 พฤศจิกายน 2553 เวลา 8.00 น. บางส่วนไปร่วมขบวน



และบางส่วน เตรียมทำกิจกรรม   เราดูและเชียร์ ช่วงๆเที่ยงๆ ไป รับประทานอาหาร และกลับจากงานเวลาประมาณ 17.30 น.

วันอังคาร, ธันวาคม 21, 2553

ศึกษาดูงาน โรงเรียน ตชด.สิงคโปร์แอร์ไลน์เฉลิมพระเกียรติ ฯ อ. สอยดาว จ. จันทบุรี


 


วันที่ 20 ธันวาคม 2553 ดร. ดนัย เทียนพุฒ พาพวกเราไป ดูงาน โรงเรียน ตชด.สิงคโปร์แอร์ไลน์เฉลิมพระเกียรติ ฯ   อ. สอยดาว จ. จันทบุรี โดยท่านอาจารย์ ผศ.ดร.จินตนา มณเฑียรวิเชียรฉายและนักศึกษาป.โท ได้ร่วมเดินทางด้วย   ครูใหญ่ คุณครู  และนักเรียนทุกคนน่ารักมาก   ตลอดเวลาที่ไปเราไม่ได้เห็นอาคารใหญ่โต  เราไม่ได้เห็นห้องเรียนที่สะดวกสบายเหมือนในเมือง  เราไมได้เห็นความพร้อมของนักเรียนซึ่งบางคนใส่ชุดอยู่บ้าน ไม่มีรองเท้า   แต่เราเห็นรอยยิ้ม และน้ำใจ ตลอดสามชั่วโมง 
    ท่านครูใหญ่ได้พาชม เริ่มต้นจากสหกรณ์ โดยได้รับการสนับสนุนการวางแผนบริหารจัดการจาก สหกรณ์จังหวัด   เป็นสินค้าทั่วไปไม่มาก  แต่งร้านไม่เด่น ไม่มีชั้นวางราคาแพง  มีตระกร้ารับเงิน สมุดจดเก่าๆ สองสามเล่ม  นักเรียนประถมปลายจะเวียนกันมาขายสินค้า    เราคิดว่ารูปแบบยิ่งใหญ่กว่าสหกรณ์โรงเรียนทั่วไป   เนื่องจากเป็นร้านชำของชุมชนทั้งหมู่บ้าน  ราคาถูก  รวมทั้งสถานที่จำหน่วยผักสวนครัว เห็ด และสินค้าอื่นๆ ในโรงเรียน  ไม่ได้หวังกำไร แต่นักเรียนได้ฝึก จนเป็นร้านค้าในหมู่บ้าน

   ถัดไปเราไปดู โรงอาหารภาพที่เราเห็นคือ แม่ครัว 3-4 คน กำลังง่วนช่วยกันทำอาหาร บนผนังจะมีรายการเมนูอาหารทุกวัน เป็นรายการอาหารธรรมดา แต่มีครบคุณค่า ครบทั้ง 5 หมู่ และ แต่ละมื้อมีนมให้นักเรียน แม่ครัวมาจาก จิตอาสาช่วยกันปรุงอาหารให้ลูกหลานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง และจะมีเวรผลัดกันทุกวัน
  หากเดินไปดูโครงการน้ำดื่มไอโดดีนมีป้ายชื่อคุณครูผู้ดูแล    ด้านหน้ามีโถดินเผา 3 ใบ หยดไอโอดีนให้นักเรียน ดื่มตลอดและมีเวรนักเรียช่วยกันเติมน้ำ
  เราเดินผ่านห้องเรียนเล็กๆ   ด้านหลังห้องมีชั้นหนังสือไม้อัด 3-4 ชั้น มีหนังสือเรียน เราพบแต่หนังสือเรียนที่แจกเรียน แต่ไม่พบหนังสือนิทาน   รูปภาพสำหรับสำหรับเด็กๆ หรือแม้แต่ของเล่นเด็ก   ในห้องมีการเรียนการสอน นักเรียนตั้งใจเรียนมาก เดินเข้าทักเราได้ยินคำ "สวัสดีครับ สวัสดีค่ะ "   พร้อมกับรอยยิ้ม น่ารักมาก   เรารู้สึกผิดมาก  คิดในใจน่าจะเตรียมหนังสือเก่าที่บ้าน หรือขนม มาด้วย
     เดินไปด้านหลังรอบโรงเรียน ถนนดินแดงมีต้นไม้โดยรอบ จุดแรกที่ไปดู คือ การเพาะเห็ดฟาง โรงเรือนขนาดเล็ก ประมาณ  6 *   3   เมตร  เช้าๆ น้องนักเรียนที่รับผิดชอบต้องมาเก็บเห็ด และดูแลโรงเรือน
     ข้างๆเป็นฟาร์มไก่  มีการเลี้ยงไก่ไข่ประมาณ 15 ตัว  ไก่รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 7  ซึ่งรุ่นแรกซีพีมอบลูกไก่ให้โรงเรียน  นักเรียนต้องมาเก็บไข่ตอนเช้าก่อนเข้าเรียน
    ถัดไปเราพบหมูป่า คาดว่าเป็นพันธ์ผสมกับหมูบ้าน ไม่ดุ อาหารที่เลี้ยงคือ ต้นกล้วย เศษอาหารจากโรงครัว   เมือถึงเวลาจะจับให้ชาวบ้าน    โดยขายทั้งตัว
   ด้านหลังมีแปลงผัก มีผักจำนวนมาก หลายชนิด มีระบบน้ำหยดแบบไทยประดิษฐ์ ใช้แกลลอนน้ำมันขนาด 5 ลิตรตัดก้นถัง เติมน้ำและมีเกลียวหมุนระดับน้ำไหล เช้าๆ น้องๆนักเรียนตัวน้อย จะมาเติมน้ำ
  ระบบถังประปาโรงเรียน ขนาด 3 ถังใหญ่อยู่ด้านบนยกสูงจากพื่นดินประมาณ  7-8 เมตร ปล่อยน้ำใช้ในโรงเรียน ภายใต้ต้นก้ามปูขนาดใหญ่ โตมาพร้อมๆ กับโรงเรียน  ใกล้ๆ กันมีถังปู เลี้ยงปลาดุก มีลูกปลาดุกรอจับ ไม่น่าเกิน 3 เดือนคงได้จับขาย   และบ่อน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งมีตาน้ำ ตลอดไป
     ใกล้ๆ กันนั้นมีเสาปูน  ปลุกพริกไทย สินค้าขึ้นชื่อของจันทบุรี     เราเดินกลับลักษณะเป็นวงกลม รอบโรงเรียน ตลอดพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ มีทั้งวิชาการในห้องเรียน วิธีชิวิตนอกห้องเรียน ครบสมบูรณ์
    ครูใหญ่ พาเราไปเข้าห้องประชุม (น่าจะเป็นห้องสมุดดัดแปลง)   นำเสนอบรรยายสรุป ภาพรวมของโรงเรียน มีหลานเรื่องที่ประทับ อาทิ ผลการเรียนภาษาอังกฤษ ได้เกินมาตรฐานของจังหวัดสูงมาก รวมทั้งอีกหลายวิชาที่ได้คะแนนสูง ครูใหญ่ให้เราถาม พวกเราตั้งคำถามหลายข้อ...............พวกเราประทับใจ และได้รับความรู้ มาก