บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์, มกราคม 24, 2554

เทคโนโลยีกับการศึกษา

เทคโนโลยีกับการศึกษา
                                                                นิพิฐพนธ์   สนิทเหลือ*

บทนำ
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542ปรับปรุงแก้ไข ปี 2545  ในมาตราที่ 22 ได้กำหนดให้การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ โดยมุ่งไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต  และมาตราที่ 23 ได้ระบุให้การจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบ  ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการสอน และส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ  สถานการศึกษาต้องสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิต และพัฒนาเทคโนโลยี   ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้าน ผู้ผลิตและผู้ใช้เทคโนโลยีการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการผลิตสื่อการสอนต่างๆ ให้มุ่งหวังไปสู่เป้าหมายตามนโยบายได้   (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2542 : 13-14)
เทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จะมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้งานในด้านต่างๆ อย่างมาก   รวมทั้งระบบการศึกษา  ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC   กล่าวว่าการใช้สื่อการเรียนการสอนรูปแบบใหม่แทนที่เอกสารหนังสือที่เรียกว่าสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  หรือ CAI (Computer Aided Instruction)  ซึ่งมีซอฟต์แวร์ที่เป็นเครื่องมือให้เลือกใช้งานได้หลากหลายและในปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตได้พัฒนาเติบโตอย่างรวดเร็ว และได้ก้าวมาเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญ ที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอน การฝึกอบรม รวมทั้งการถ่ายทอด ความรู้ โดยพัฒนา CAI เดิมๆ ให้เป็น WBI (Web Based Instruction) หรือการเรียนการสอนผ่านบริการเว็บเพจ ส่งผลให้ข้อมูลในรูปแบบ WBI สามารถเผยแพร่ได้รวดเร็ว และกว้างไกลกว่าสื่อ CAI ปกติ เรียกว่า e-Learning (Electronics Learning)  ซึ่งมีหลายส่วนประกอบ อาทิ ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ และระบบการสื่อสารข้อมูล เป็นส่วนประกอบหลัก แต่ในการใช้งานต้องคำนึงถึงองค์ประกอบอื่นๆด้วยอาทิ  ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  ปัญหาอุปสรรคที่คาดว่าจะเกิด   ดังนั้นสถานศึกษาที่ต้องการพัฒนาระบบดังกล่าว ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบต่างๆเหล่านั้น  ทั้งนี้เพื่อให้การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ WBI ประสบความสำเร็จและสามารถพัฒนาระบบการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

*นักศึกษาปริญญาเอก สาขาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ  มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น รุ่น 7
มโนทัศน์เกียวกับเทคโนโลยีการศึกษา
มโนทัศน์เกียวกับเทคโนโลยีการศึกษามี 2 แนวคิดดังนี้ 1.เทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science) หมายถึง การประยุกต์ความรู้วิทยาศาสตร์กายภาพ  กับเทคโนโลยีด้านวิศวกรรม  เช่น เครื่องฉายต่าง ๆ เครื่องบันทึกเสียงวิทยุ โทรทัศน์  สื่อ CAI ฯลฯ มาใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนสำหรับการเรียน  2.เทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Concept) เป็นการปฏิบัติการทางการศึกษา โดยนักพฤติกรรมศาสตร์สาขาจิตวิทยามานุษยวิทยา สังคมวิทยา และการศึกษา   เช่น จิตวิทยาการเรียนรู้  กระบวนการกลุ่มภาษาศาสตร์ การสื่อสาร การบริหาร ระบบ การรับรู้   ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาทั้ง 2 ทัศนะ ที่ได้กล่าวแล้ว จะเน้นความสำคัญที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด  กล่าวคือ เทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะความคิดทางวิทยาศาสตร์กายภาพนั้น เน้นความสำคัญของเครื่องมือ (hardware) เป็นสำคัญโดยไม่ค่อยจะคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนส่วนทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์นั้นพิจารณาเทคโนโลยีในเชิงปฏิบัติให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของมนุษย์โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นแกนกลางสำคัญ แนวความคิดนี้พยายามทำความเข้าใจและศึกษาว่ามนุษย์เรียนรู้ได้อย่างไร และนำความรู้ตลอดจนวิธีการทางวิทยาศาสตร์และเครื่องมือเข้าไปประยุกต์แก้ปัญหาหรือเสริมสร้างการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น(http://www.pteonline.org/img-lib/staff/file/supreeya_000473.pdf)
สำหรับแนวทางการจัดการศึกษาของไทยในปัจจุบันได้ยึดหลัก การจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นแนวทางเชิงพฤติกรรมศาสตร์  มีการบรรจุการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างชัดเจน

เทคโนโลโนยีกับการปฏิรูปการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (แก้ไขเพิ่มเติม 2545) หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การจัดการศึกษาในอนาคตต้องยึดแนวตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ตามการดำเนินการจัดการศึกษาในปัจจุบันและในอนาคต คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อดำเนินจัดการศึกษา  และสำหรับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาตินี้   จึงได้นำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาบรรจุลงไป ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้อย่างชัดเจน  ชึ่งมีหลายมาตราโดยสรุปดังนี้
(พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติม 2545) :  2545)

มาตรา 63 รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่ง วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่นเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทำนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนาธรรมตามความจำเป็น
มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาแบบเรียนตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิต และมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งนี้ โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดนเสรีอย่างเป็นธรรม
หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาข้างต้นนั้น เราสามารถแบ่งเนื้อหาได้  2 ประเด็นหลักๆ คือ มาตรา 63 เกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยี Hardware และ มาตราที่ 64  เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ Software   ดังนี้
มาตรา 63  เกี่ยวข้องกับ Hardware จากสภาพปัจจุบันในต่างจังหวัด หากไม่นับรวมสถานศึกษาในเขตอำเภอเมือง สถาบันการศึกษาต่างๆ ได้ลงทุนเครื่องมือและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์การศึกษาเป็นจำนวนมาก   ในขณะที่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพยังไม่สามารถให้บริการได้    ทำให้การเชื่อมออกสู่ภายนอกต้องลงทุนจ่ายค่าเชื่อมความเร็วสูงให้กับเอกชน (ISP) ในราคาที่สูงมาก  ส่งผลต่อเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ   และเมื่อระบบเครือข่ายราคาถูกและมีประสิทธิภาพเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่มีจะตกรุ่นทำให้บางส่วนไม่สามารถใช้งานแล้ว  ดังนั้นภาครัฐต้องจัดสรรและวางระบบเครือข่ายราคาถูกและมีประสิทธิภาพเข้าถึงได้ในทุกสถานศึกษา
รวมถึงการจัดสรรคลื่นวิทยุและโทรทัศน์ สำหรับการศึกษาที่สามารถเลือกดูเลือกชมได้อย่างเพียงพอ และเข้าถึงได้ง่ายอย่างสะดวกดังเช่นช่อง  3 5 7 9 และ ITV   
มาตรา 64  เกี่ยวกับซอฟแวร์  ต้องยอมรับว่าซอฟแวร์มีค่าลิขสิทธิ์สูง และหากต้องพัฒนาโปรแกรมใช้งานต้องใช้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งมีจำนวนน้อย ดังนั้นภาครัฐต้องพัฒนาบุคคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการทำงานในด้านนี้ เช่น มีเงินทุนให้กู้ยืมโดยเฉพาะที่คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ  การจัดสรร Webhosting   ที่ให้บริการ Free หรือคิดในราคาที่ต่ำกว่าปกติ การคิดภาษีรายได้ที่อัตราต่ำสำหรับสถานศึกษา  และสิทธิพิเศษอื่นๆเพื่อสร้างแรงจูงใจ  นอกจากนี้ยังรวมถึงระบบการบริหารจัดการ Website เพื่อการศึกษาอย่างจริงจังและมีคุณภาพ  อีกทั้งบุคลากรทุกระดับ โดยเฉพาะผู้บริหารจำเป็นต้องเรียนรู้ และพัฒนาการใช้งานเทคโนโลยีอยู่เสมอ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบการศึกษาและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการภายในสถานศึกษาของตน 
                สำหรับข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561)   ได้มีข้อเสนอการตั้งกลไกหลักเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา  เพื่อให้การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ประสบความสำเร็จ   ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติและกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เป็นหน่วยงานกลาง เพื่อทำหน้าที่เสนอนโยบาย แผน ส่งเสริม และประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  (http://www.onec.go.th/cms/)
ดังนั้นหากมีความพร้อมการจากใช้เทคโนโลยีตามที่ระบุในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  และข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561)   ดังกล่าวจะก่อให้เกิดการพัฒนาหลายด้านต่อระบบการศึกษา และนำไปสู่การศึกษายุคใหม่

เทคโนโลยีเพื่อการศึกษายุคใหม่
สำหรับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษานั้นมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีหลายระบบงาน ซึ่งมีระบบงานหลักที่สำคัญได้แก่  การใช้เพื่อระบบการเรียนการสอน และการบริหารจัดการภายในสถาบัน
ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) หมายถึงระบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดย ผู้เรียนใช้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อเข้าไปอ่านเนื้อหา ทำแบบทดสอบวัดผลประเมินผล ฟังไฟล์บรรยายของอาจารย์ เสมือนเข้าห้องเรียนตามปกติ และสามารถเข้าไปศึกษาได้ตลอดเวลา และไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่ อีกทั้งการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน อาทิ เว็บเพจเนื้อหา การแสดงความคิดเห็น การตอบคำถาม การประเมินผล  การฝากข้อความ การส่งงาน หรืออื่นๆ  โดยมีบรรยากาศเสมือนจริง  โดยผ่านซอฟแวร์ระบบ e-learning  (ครรชิต มาลัยวงศ์ :  2552)
การเปรียบเทียบระบบการเรียนปกติ กับ ห้องเรียนเสมือน 
ห้องเรียนเสมือน
ห้องเรียนปกติ
ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่เรียน
ต้องเรียนตามเวลา และสถานที่ที่กำหนด
สามารถฟังซ้ำๆ ได้หลายๆครั้ง
เรียนได้ 1 ครั้ง
ใช้คอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่าย
ห้องเรียน
มีระบบการบันทักประวัติการเข้าเรียน(Log File)
ใช้เอกสาร
ระบบการให้คะแนน ตรวจประเมิน ลงระบบคอมพิวเตอร์
ใช้เอกสาร
ความจำเป็นของห้องเรียนเสมือน
1.             สถานที่จำกัด และบุคลากรไม่เพียงพอ
2.             ลดค่าใช้จ่ายได้มาก
3.             ผู้เรียนไม่มีเวลาตามที่กำหนด
4.             ระยะทางการเดินทางไกล
ข้อจำกัดของการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนมี ดังนี้
1.             มีค่าใช้จ่ายด้าน อุปกรณ์และซอฟแวร์ในการเรียนการสอน และผู้เรียนต้องมีคอมพิวเตอร์ที่รองรับการใช้งานได้
2.             การตอบสนองของผู้เรียน และอาจารย์อาจใช้เวลา ไม่สามารถตอบสนองำด้โดยทันที ดังนั้นอาจไม่เป็นธรรมชาติ และทำให้ปฏิสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายน้อยลง
3.             ผู้เรียนต้องมีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี
4.             กรณีผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบ และสามารถบริหารจัดการ ระบบการเรียนรู้ของตนเองได้ป็นอย่างดี
นวัตกรรมทางการศึกษาด้านห้องเรียนเสมือน ทำให้ลดข้อจำกัดในด้านต่างๆทางการศึกษาได้มาก  ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความเหมาะสมกับเวลาและสถานที่  สามรถเรียนซ้ำได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง  ห้องเรียนเสมือนนี้ ช่วยให้จัดการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียน  การศึกษาตามอัธยาศัย ไม่มีข้อจำกัดด้านจำนวนผู้เรียน ระยะเวลา แฃะสถานที่ ก่อใหเกิดการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง  
ระบบการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ (e-education)
กล่าวถึงระบบการบริหารจัดการระบบงานของสถานศึกษา โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใน สถานศึกษา   มีการเชื่อมโยงระบบต่างๆเข้าด้วยกัน ตามหน่วยงานต่างๆ อาทิ   ระบบการรับสมัคร  ระบบการ ลงทะเบียน  ระบบการเรียนการสอน  การประเมินผล   ระบบงานห้องสมุด  ระบบการกู้ยืมเพื่อการศึกษา   ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา   เป็นการนำเทคโนโลยีที่จะช่วยให้กระบวนการจัดระบบการศึกษา (Education System) โดยทำงานตามขั้นตอน (Workflow)  ของสถานศึกษา  ดังนั้นทุกๆหน่วยงานสามารถใช้ข้อมูล และบริหารจัดการได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง  สามารถประมวลผลทางระบบงาน On-Line Real Time ได้ทั้งหมด พร้อมระบบมาตรฐานความปลอดภัยข้อมูล

ประโยชน์ที่ได้รับ
·       เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน องค์กรมีการปรับระบบการทำงาน
·       ก่อให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจการศึกษามากขึ้น
·       ขยายระบบการศึกษาสู่คนภายนอกได้มากขึ้น
·       ผู้เรียนและบุคลากร  สามารถทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องได้ตลอดเวลา ทั้งในและนอกสถานศึกษา
·       ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
·       มีระบบการให้บริการ ที่มีประสิทธิการ และบุคลากร  ทำงานได้อย่างรวดเร็ว และใช้จำนวนตนทำงานน้อยลง  
·       มีข้อมูลในการบริหารและตัดสินใจที่เป็นระบบ และนำมาใช้งานได้ทันที หรือ พัฒนาต่อยอดระบบงานอื่นๆ ได้  

ระบบ e-education เป็นเครื่องมือที่ช่วยสถาบันการศึกษาในการให้บริการแก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นระบบที่ทั้งผู้เรียนและบุคลากรสามารถใช้ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ไม่มีข้อจำกัดทั้งด้านเวลา และสถานที่  ระบบ  e-education  เป็นเทคโนโลยี ที่ได้มีการพัฒนาการตามลำดับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

ประวัติและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา
สำหรับพัฒนาการการศึกษาที่ถือว่าเป็นเทคโนโลยีการศึกษาในอดีต สามารถแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลาดังนี้คือ (ชัยยงค์  พรหรมวงศ์ : 2521)
1) ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกจนถึงปี ค..1700
การศึกษาช่วงเวลาดังกล่าวมีการพัฒนาการที่ช้ามาก การจัดการเรียนการสอนอยู่ในกลุ่มคนเล็ก ๆ การสื่อสารยังไม่เจริญ การจัดการศึกษาและพัฒนาการศึกษามีดังนี้เทคโนโลยีการศึกษาของกลุ่มโซฟิสต์ในตอนปลายของศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราชนั้น มีกลุ่มนักการศึกษากลุ่มเล็ก ๆเป็นครูรับจ้างสอนตามบ้านในกรุงเอเธนส์ กรีกโบราณ ในนามของกลุ่ม Elder Sophist รูปแบบการสอนของกลุ่มโซฟิสต์มี 3 ขั้นตอนคือ   เตรียมคำบรรยายอย่างละเอียด   เปิดโอกาสให้ผู้ฟังเสนอแนะให้บรรยายในสิ่งที่เขาต้องการรู้  บรรยายตามความต้องการของผู้บรรยายหรือผู้ฟัง     เทคโนโลยีการศึกษาของโสเครติส (..399-470)  วิธีการสอนของโสเครติส ที่อธิบายไว้ใน Plasto's Meno นั้น มุ่งที่จะสอนให้ผู้เรียนเสาะแสวงหรือสืบเสาะหาความรู้ที่เหมาะสมเอง จากการป้อนคำถามต่าง ๆ ที่เป็นการชี้แนะแนวทางให้ผู้ตอบได้ข้อคิด เทคโนโลยีการศึกษาของอเบลาร์  ใช้ในการเรียนการสอน โดยการระมัดระวังเทคนิคการใช้คำถามให้รัดกุมขึ้น .เทคโนโลยีทางการศึกษาของคอมินิอุสเกิดในครอบครัวโปรเตสแตนท์ ปัจจุบันอยู่ในเชคโกสโลวาเกีย  ได้เป็นผู้ร่างหลักสูตรการศึกษาในฮอลแลนด์ และสวีเดน ตลอดจนสร้างโรงเรียนตัวอย่างขึ้นในฮังการีด้วย จุดมุ่งหมายทางการศึกษาของคอมินิอุส คือ ความรู้ คุณธรรม และความเคร่งครัดในศาสนา 
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
Blank. (2000 : 12) ได้ให้ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บว่าหมายถึง โปรแกรมการเรียนการสอนในรูปแบบของไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) ที่นำคุณลักษณะและทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีในเวิลด์ไวด์เว็บ มาใช้ประโยชน์ในการจัดสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้
                Rosenberg (2001 : 28)  ได้ให้ความหมายของความหมายของการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ว่า  หมายถึง  การใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเพื่อช่วยในการเพิ่มพูนความรู้และยกระดับผลการปฏิบัติงาน  โดยอยู่บนหลักการพื้นฐานสามประการด้วยกัน  คือ  1) การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ซึ่งสามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย  เก็บข้อมูลหรือเรียกดูข้อมูล  กระจายข้อมูลและแบ่งปันข้อมูลได้อย่างทันทีทันใด   2) เป็นการส่งข้อมูลไปยังผู้ใช้ผ่านทางคอมพิวเตอร์โดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เป็นมาตรฐาน  3) การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้เน้นมุมมองทางการเรียนรู้ที่กว้างขวางที่สุด นั้นก็คือวิธีการเรียนรู้ซึ่งอยู่นอกเหนือกรอบแนวคิดในการเรียนรู้แบบดั้งเดิม
                Knowles  (1975 : ย่อหน้าที่ 7)  ได้กล่าวถึงความหมายของ  การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไว้ว่าหมายถึง  การถ่ายโอนกิจกรรม  กระบวนการ  และเหตุการณ์ของการเรียนรู้และการฝึกอบรมทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการโดยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด  เช่น  อินเตอร์เน็ต  (Internet)  อินทราเน็ต  (Intranet)  ซีดีรอม  วีดีโอเทป  ดีวีดี  โทรทัศน์  โทรศัพท์มือถือ และอื่น ๆ
ถนอมพร  เลาหจรัสแสง (2545) ได้ให้ความหมายของความหมายของการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ว่า  หมายถึง การเรียนเนื้อหา  หรือ สารสนเทศสำหรับการสอน หรือ การอบรม ซึ่งใช้การนำเสนอด้วยตัวอักษร ภาพนิ่ง ผสมผสานกับการใช้ภาพเคลื่อนไหว  วิดิทัศน์และเสียงโดยอาศัยเทคโนโลยีของเว็บ (Web Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมทั้งใช้เทคโนโลยีการจัดการคอร์ส(Course management System) ในการบริหารจัดการงานสอนต่างๆ
                รังสรรค์  สุกันทา. (2546) ได้กล่าวไว้ว่า e-Learning มาจากคำว่า ElectronicLearning หมายถึการเรียนรู้บนพื้นฐานเทคโนโลยี (Technology-based Training) เป็นกระบวนการเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ตเสมือนการเรียนในห้องเรียนแต่เป็นการส่งเนื้อหาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต เช่น คอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เอ็กซ์ทราเน็ตสัญญาณโทรทัศน์ หรือสัญญาณดาวเทียม รวมทั้งมีการติดต่อระหว่างผู้และผู้สอนที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์และช่วยให้ผู้เรียนเลือกเวลาเรียนที่สะดวก ประหยัดค่าใช้จ่ายทำให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างการทำงาน
                วัลย์ลดา  วรกรานศิริ. (2544) กล่าวว่า e-learning หรือ Online Learning คือระบบการเรียนการสอนที่สื่อสารผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การสอนบนเว็บ การสอนออนไลน์ การประชุมทางไกลผ่านเว็บ การเรียนทางไกลจากวีดิทัศน์ตามอัธยาศัย (Video-onDemand) ที่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีของเว็บ กิจกรรมการเรียนที่ติดต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนและ/หรือกับผู้สอน โดยการเชื่อมโยงต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ศรีสุกาญจน์ บิณฑาประสิทธิ์. (2540) กล่าวว่า e-Learning นั้นจะครอบคลุมการเรียนรู้ในหลายรูปแบ เช่น WBT/WBL, CBT, ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) รวมทั้งการเรียนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต/อินทราเน็ต  การถ่ายทอดผ่านดาวเทียม และซีดีรอม
ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หมายถึง การเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์   โดยใช้เนื้อหา ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว วิดิทัศน์  เสียง   ผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์  เช่น  อินเตอร์เน็ต  อินทราเน็ต  เอ็กซ์ทราเน็ต    เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และนำไปสู่ผลการเรียนรู้ที่ดีขึ้น ปัจจุบันภาครัฐได้กำหนดกรอบนโยบาย  เพื่อผลักดันให้สู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง
เอกสารอ้างอิง

ครรชิต มาลัยวงศ์ .2552 .  ความหมายของห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) .(Online).

 http://cdezine.wordpress.com. 22 กันยายน 2553.
ชินภัทร ภูมิรัตน. การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง(พ.ศ. 2552 2561) .[Online].
ชัยยงค์  พรหมวงศ์(2521).ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ถนอมพร  เลาหจรัสแสง.2545. หลักการออกและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน.กรุงเทพ ฯ:ห้างหุ้นส่วน
จำกัด อรุณการพิมพ์.
ทองจันทร์  หงส์ลดารมภ์. 2531.  การเรียนรู้โดยพึ่งตนเอง. สารพัฒนาคณาจารย์. 1 (พฤศจิกายน-ธันวาคม).
ธงทอง  จันทรางศุ . การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (2552-2561) .[Online].
เปรื่อง กุมุท.2526. เทคโนโลยีการศึกษา: คำนิยามและความหมาย.เอกสารประกอบการสอน.
ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
รังสรรค์  สุกันทา. 2546.  การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บแบบมีส่วนร่วมตามแนวคิดการเรียนรู้
แบบนำตนเองสำหรับบุคลากรขององค์กรธุรกิจ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัลย์ลดา  วรกรานศิริ. 2544. ความพร้อมขององค์กรธุรกิจเอกชนในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลโดยใช้เว็บ
เพื่อการฝึกอบรม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศรีสุกาญจน์ บิณฑาประสิทธิ์. 2540. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบุคคลและสภาพแวดล้อมในการทำงานกับ
ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลของรัฐในกรุงเทพมหานคร.
วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สาโรช โศภีรักข์.  2546.  พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา (Online).http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi 
6 กันยายน 2550.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2542.แผนพัฒนาสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมเพื่อการพัฒนาคนและสังคม (..2542-2551), หจก.
เม็ดทรายพรินติ้ง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) .. 2545.กรุงเทพมหานคร:พริกหวานการพิมพ์ จำกัด

1 ความคิดเห็น: